คาราเต้ วาโด ไค
วาโด ไค
เป็นหนึ่งในคาราเต้สี่สายหลักที่ถูกสอนในญี่ปุ่นและเป็นองค์กรในสหพันธ์คาราเต้ญี่ปุ่น
ซึ่งฝึกฝนคาราเต้สายวาโดริว ชื่อเรียก วาโด-ริว แบ่งเป็นสามส่วน คือ วา โด และริว ‘วา’ หมายถึง “ความกลมกลืน” ‘โด’ (ใช้ตัวอักษรเดียวกับ เต๋า ของลัทธิเต๋า) หมายถึง “หนทาง” และ ‘ริว’ หมายถึง “สำนัก” หรือ “สาย” ซึ่งในที่นี้ ไม่ได้ตีความว่าเป็นความรักสงบ แต่เป็นเพียงการรับรู้ว่าบางครั้งการโน้มรับแรงเข้ามานั้น ได้ผลกว่าการใช้พละกำลังเข้าปะทะเพียงอย่างเดียว |
วาโด-ริว
ยังสามารถนับให้เป็นสไตล์หนึ่งของยูยิตสู แทนที่จะเป็นคาราเต้ ฮิโรโนริ
โอซึกะ ผู้ฝึก ชินโด โยชิน-ริว
อย่างถูกต้องและเป็นนักเรียน โยชิน-ริว
เมื่อเขาได้พบกับ คาชิน ฟุนาโคชิ ปรมาจารย์คาราเต้สายโอกินาว่าเป็นครั้งแรก
และได้เครดิตจากการนำคาราเต้เข้ามาในญี่ปุ่นและทำให้เป็นที่นิยม
โอซึกะได้เรียนรู้คาราเต้โชโตกันจากอาจารย์คาชิน ฟุนาโคชิ
และยังได้เรียนกับปรมาจารย์คาราเต้โอกินาว่าอีกสองท่าน คือ เค็นวะ มาบุนิ
และ โมโตบุ โชกิ จากภูมิหลังนี้ โอซึกะจึงได้ผสมผสาน ชินโด โยชิน-ริว
ซึ่งเป็นยูยิตสูที่มุ่งไปทางอาเทมิวาซะ (การโจมตีจุดสำคัญ)
เข้ากับคาราเต้โอกินาว่า โดยตั้งชื่อสไตล์นี้ว่า คาราเต้วาโดไค ในปีค.ศ.
1939
และรากฐานของหลักการส่วนใหญ่ในคาราเต้วาโดริวจึงถูกรับมาจาก ชินโด โยชิน-ริว ชินโด โยชิน-ริว ถูกก่อตั้งในช่วงท้ายของยุคเอโดะ โดยสมาชิกในตระกูลคุโรดะชื่อ คัตสึโนะสุเกะ มัตสึโอกะ (ค.ศ. 1836-1898) คัตสึโนะเชื่อว่าระบบยูยิตสูในช่วงท้ายของยุคเอโดะนี้ ได้สูญเสียประสิทธิภาพในทางการทหารไปโดยมาก วิวัฒนาการไปเป็นระบบที่เน้นการดวลกันตัวต่อตัวมากกว่าที่จะให้มีประสิทธิภาพในการรบ เพราะฉะนั้น เขาจึงตัดสินใจรวมศาสตร์ของเคนยุทสุ (ศิลปะการฟันดาบ) และยูยิตสูเข้าด้วยกัน โดยคิดระบบใหม่ที่เรียกว่าชินโด โยชิน-ริวขึ้นมา ซึ่งมีความหมายว่า “ศิลปะแห่งความอ่อนใหม่” ชินโด โยชินริว ถูกแบ่งออกเป็นสองสายในปีค.ศ. 1895 เมื่อมัตสึโอกะเริ่มชราภาพได้อนุญาตให้นักเรียนคนหนึ่งของเขาที่อาศัยอยู่ในเอโดะชื่อ ชิเงตะ โอบาตะ แยกออกจากสายหลักไปนำสาขา ชินโด โยชินริว ของเขาเอง วิชาสายนี้กลายเป็น โอบาตะ ชินโด โยชิน-ริว และดำรงอยู่ในปัจจุบันในฐานะ ทาคามุระ ฮะ ชินโน โยชินริวซึ่งถูกตั้งชื่อตามหลานชายของ ชิเงตะ โอบาตะ และปัจจุบันถูกนำโดยโทบิน เทรดกิล เซนเซ ณ. สำนักฮมบุซึ่งตั้งอยู่ที่เอเวอร์กรีน โคโลราโด สหรัฐอเมริกา (ww.shinyokai.com) |